เจตคติ(attitude)



 

   เจตคติ(attitude)

เจตคติ หมายถึง ความรู้สึกที่ค่อนข้างถาวรต่อสิ่งเร้า (สิ่งของ เหตุการณ์, สถานการณ์,ประสบการณ์ ฯลฯ) ที่เรารู้จักหรือเข้าใจ แล้วมีแนวโน้มให้เรามีพฤติกรรมที่สอดคล้องกับความรู้สึกนั้น

เจตคติประกอบด้วย
 1. ทิศทาง ได้แก่ บวก (+) หรือ ลบ (-) ชอบหรือไม่ชอบ ดีหรือไม่ดี ฯลฯ เช่น มีเจตคติที่ดีต่อการสอนของครู เป็นต้น
 2. ความเข้มข้นได้แก่ เจตคติที่มีมากน้อยเพียงใด เช่น มีเจตคติที่ดีเป็นอย่างมากต่อการแสดงความเกรงใจผู้อื่น
 3. ขอบเขต ได้แก่เจตคติที่มีแผ่ขยายอิทธิพลถึงสิ่งอื่น หรือไม่ หรือมีขอบเขตกว้างหรือแคบมากน้อยเท่าไร เช่น มีเจตคติที่ไม่มีต่อครูแล้วส่งผลให้นักเรียนมีเจตคติที่ไม่ดีต่อโรงเรียน เลยไม่ไปโรงเรียน ป็นต้น
 4. ระยะเวลา ได้แก่ความยาวนาน หรือความคงทนของเจตคติ เช่น มีเจตคติที่ไม่ดีต่อข้าราชการไทยมานานกว่า 20 ปีแล้ว เป็นต้น

เจตคติ ของเรามีแนวโน้มที่จะทำให้เกิดพฤติกรรมที่สอดคล้องกับเจตคตินั้น เช่น ถ้าเรามีเจตคติทางบวกต่อการปกครองระบอบประชาธิปไตยมาเป็นเวลายาวนานแล้ว พฤติกรรม หรือความคิดของเราย่อมสอดคล้องกับหลักประชาธิปไตย คือ อยู่ด้วยกันด้วยการร่วมมือซึ่งกันและกัน ยอมรับนับถือกันและแก้ปัญหาร่วมกันด้วยวิธีการแห่งปัญญา หรือถ้าเรามีเจตคติที่ไม่มีเป็นอย่างยิ่งต่ออาชีพครู เราจะไม่สนใจเกี่ยวกับอาชีพครู และไม่คิดอยากเป็นครูเลย เป็นต้น

 เจตคติ เกิดขึ้นและเปลี่ยนแปลงได้เนื่องจากบุคคลเกิดการเรียนรู้ ได้แก่อาจได้รับการเสริมแรงหรือการลงโทษ เช่น ทำตามที่ผู้ใหญ่สอนแล้วได้รางวัลเสมอ ๆ ก็จะมีเจตคติที่ดีต่อการเชื่อฟังคำสั่งสอนของผู้ใหญ่ หรืออาจเกิดจากความคิด ความรู้ ความเข้าใจ เช่น ได้รับข้อมูลเกี่ยวกับบุคคลในทางไม่ดี ซึ่งสอดคล้องกับความเชื่อเดิมของเราอยู่แล้ว ทำให้เราเกิดเจตคติที่ไม่ดีต่อบุคคลนั้น หรืออาจเกิดจากการเรียนรู้ทางสังคม (เลียบแบบ) เช่น ยอมที่จะมีเจตคติตามผู้อื่นหรือสังคมกำหนด หรือเลียบแบบเจตคติของผู้อื่นหรือสังคม เพื่อให้สังคมยอมรับว่าเป็นสมาชิกหนึ่งของสังคม เป็นต้น

16:42:15

2010-10-05 

 

 

 

 

1131
1131