จิตวิทยาสังคม : Social Psychology



 

   จิตวิทยาสังคม : Social Psychology

     จิตวิทยาสังคม หมายถึง การศึกษาพฤติกรรม ความคิด และความรู้สึกของบุคคล หรือปฏิสัมพันธ์ของบุคคลซึ่งเกิดจากความสัมพันธ์กับคนอื่น หรือกลุ่มคน เช่น ศึกษาถึงความรัก ความเกลียด การทำงาน การช่วยเหลือ ความเชื่อถือ การต่อสู้ การสื่อสาร เป็นต้น หรือาจกล่าวได้ว่า จิตวิทยาสังคม คือการศึกษาถึงความคิด ความรู้สึก และพฤติกรรมของบุคคล ซึ่งได้รับอิทธิพลจากบุคคลอื่นหรือสังคม ไม่ว่าบุคคลหรือสังคมจะอยู่ร่วมด้วยในขณะนั้น อยู่ในความคิดคำนึง หรืออยู่โดยอ้อมก็ตาม เช่น ต้องการศึกษาว่าเมื่อบุคคลประสบกับเหตุการณ์ที่คน ๆ หนึ่งต้องการความช่วยเหลื่อในขณะที่มีผู้อื่นอยู่ร่วมในเหตุการณ์หลายคน บุคคลนั้นจะช่วยเหลือหรือไม่อย่างไร หรือบุคคลเมื่ออยู่ร่วมกันหลาย ๆคน จะทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งสำเร็จมากกว่าทำโดยลำพังหรือไม่ เป็นต้น จิตวิทยาสังคมประกอบด้วย 3 ขอบข่าย คือ
 1. ขอบข่ายเกี่ยวกับปัจเจกบุคคล เป็นการศึกษา ผลสัมฤทธิ์  เจตคติ การอ้างสาเหตุ   กระบวนการรับรู้ ความไม่สอดคล้อง ความรู้สึกเกี่ยวกับตน ความเครียด อารมณ์และการกระตุ้น ฯลฯ
 2. ขอบข่ายเกี่ยวกับปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคล  เป็นการศึกษา ความก้าวร้าว ความดึงดูดระหว่างบุคคล การเจรจาต่อรอง การคล้อยตาม การยินยอม ความช่วยเหลือ ฯลฯ
 3. ขอบข่ายเกี่ยวกับกระบวนการกลุ่ม  เป็นการศึกษากระบวนการกลุ่ม ความแออัดของสมาชิกกลุ่ม ระยะห่างระหว่างบุคคล อาชญากรรม ฯลฯ 
 ใน หลายกรณี กลุ่มหรือสังคมมีอิทธิพลต่อความคิด ความรู้สึกและพฤติกรรมของบุคคลเป็นอย่างยิ่ง ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงหรือการปฏิวัติอย่างที่คาดไม่ถึง เช่น เหตุการณ์วันที่ 14 ตุลาคม 2516 หรือ 25 พฤษภาคม 2535 เป็นต้น

17:01:19

2010-10-05